คลื่นผู้ลี้ภัยชาวอัฟกันกว่า 100,000 คนอพยพออกจากปากีสถาน
กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานกว่า 1 แสนคนได้ทยอยเดินทางออกจากปากีสถาน เพื่อหนีการปราบปราม โดยปรากฎภาพของกลุ่มผู้ลี้ภัยจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอัฟกานิสถาน ที่บริเวณจุดแผ่นชายแดนทอร์คัม ซึ่งตั้งอยู่ตรงชายแดนของปากีสถานที่อยู่ติดกับอัฟกานิสถาน
โดยคนกลุ่มนี้พยายามเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดของตัวเองในช่วงไม่กี่ชั่วโมงก่อนถึงเส้นตายที่ทางการปากีสถานประกาศให้กลุ่มผู้ลี้ภัยชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารทางกฎหมาย เดินทางออกจากปากีสถานภายในวันที่ 1 พฤศจิกายนที่ผ่านมา
ชาวปากีสถานว่างงาน 30,000 คน แห่สอบเข้าตำรวจแน่นสนามกีฬา
ระเบิดกลางงานชุมนุมพรรคการเมืองปากีสถาน ดับไม่ต่ำกว่า 40 คน
กลุ่ม TTP กลุ่มก่อการร้ายอันดับหนึ่งในปากีสถาน
นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าในช่วงก่อนเที่ยงคืนของวันพุธที่ผ่านมาหรือก่อนกำหนดเส้นตาย เจ้าหน้าที่ปากีสถานได้เริ่มจับกุมตัวชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารที่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวอัฟกานิสถานที่มีประมาณ 1 ล้าน 7 แสนคน ที่อาศัยอยู่อย่างผิดกฎหมาย
ทั้งนี้การเคลื่อนย้ายผู้ลี้ภัยเหล่านี้ไปยังศูนย์กักกันชั่วคราว เริ่มต้นเร็วกว่าที่ทางการประกาศไว้ก่อนหน้านี้ หนึ่งในญาติของผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่ถูกเจ้าหน้าที่จับกุมตัวไปบอกว่า ญาติของเขาถูกจับกุมตัวขณะทำงานที่เตาอบขนมปังตอนช่วง 6 โมงเย็น
คลื่นผู้ลี้ภัยที่หลั่งไหลออกจากปากีสถานอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายวันที่ผ่านมา บางส่วนใช้รถบรรทุกขนข้าวของ และรถจำนวนมากอัดแน่นไปด้วยผู้คน ส่วนถนนสายหลักเผชิญกับการจราจรติดขัด
กระทรวงมหาดไทยของปากีสถานเปิดเผยว่า ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมาจนถึงตอนนี้ มีผู้ลี้ภัยเดินทางออกไปด้วยความสมัครใจ ผ่านจุดผ่านแดนทอร์คัมและจุดผ่านแดนชามาน จำนวน 140,322 คนอย่างไรก็ตามรัฐบาลปากีสถานได้เปิดเผยตัวเลขของชาวต่างชาติอาศัยอยู่ในปากีสถาน ซึ่งมีมากกว่า 4 ล้านคน และส่วนใหญ่เป็นชาวอัฟกานิสถานที่ต้องการขอลี้ภัยในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา
นอกเหนือจากการปราบปรามด้วยการจับกุมตัวแล้ว ยังพบเจ้าหน้าที่ทำลายที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้ลี้ภัยชาวต่างชาติที่ไม่มีเอกสารด้วย ขณะที่ทางการได้จัดตั้งศูนย์เนรเทศใน 4 จังหวัด โดยศูนย์เหล่านี้จะเป็นศูนย์พักพิงชั่วคราวของชาวต่างชาติที่อยู่แบบผิดกฎหมาย จนกว่าจะถูกส่งตัวกลับ
โดยหนึ่งในผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานวัย 45 ปีบอกว่า เขาอาศัยอยู่ที่ปากีสถานมาตลอดทั้งชีวิต และไม่เคยเหยียบแผ่นดินอัฟกานิสถานด้วยซ้ำ แต่ตอนนี้เขาได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลปากีสถาน ด้วยการทำลายบ้านเรือนและขับไล่ออกจากบ้านของตัวเอง
การประกาศกวาดล้างผู้ลี้ภัยชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวอัฟกานิสถานในปากีสถานมีขึ้นหลังจากเหตุระเบิดฆ่าตัวตายและอาชญากรรมต่างๆ เพิ่มขึ้นอย่างมากในปีนี้ โดยรัฐบาลปากีสถานระบุว่า เหตุต่างๆ เกี่ยวข้องกับชาวอัฟกานิสถานที่อพยพเข้ามาในประเทศ
คำสั่งเนรเทศเกิดขึ้นท่ามกลางเหตุโจมตีด้วยอาวุธที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในปากีสถานนับตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา พบว่าเกิดเหหตุระเบิดฆ่าตัวตายแล้ว 24 ครั้ง ในจำนวนนี้เป็นเหตุระเบิดฆ่าตัวตายที่เป็นชาวอัฟกานิสถาน 14 ครั้ง
ขณะที่ข้อมูลจาก South Asian Terrorism Portal ระบุว่า ปากีสถานประสบกับเหตุการณ์โจมตีก่อการร้ายสูงถึง 418 ครั้งในปีนี้ ซึ่งเพิ่มสูงขึ้นจากปีก่อนหน้า ที่เกิดการโจมตีในลักษณะเดียวกันนี้ทั้งหมด 365 ครั้ง
ส่วนการโจมตีส่วนใหญ่ในปีนี้อยู่ในแคว้นไคเบอร์ปัคตุนควา ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศ และแคว้นบาลูจิสถาน ซึ่งตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงใต้ติดกับประเทศอัฟกานิสถาน
ด้าน ซาร์ฟราซ บุคตี (Sarfraz Bugti) รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยของปากีสถานระบุว่า รัฐบาลปากีสถานยังมีหลักฐานที่ชี้ว่า ชาวอัฟกานิสถานที่อยู่ที่นี่ มีส่วนเกี่ยวข้องกับขบวนการอาชญากรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการารี ละฮอร์ และกรุงอิสลามาบัด
เหล่านี้คือภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้น ท่ามกลางความกังวลด้านความมั่นคงของปากีสถาน อีกทั้งรัฐบาลปากีสถานยังกล่าวหาว่ารัฐบาลตาลีบันได้จัดหาที่หลบภัยให้กับกลุ่มติดอาวุธที่ออกมายอมรับผิดชอบต่อการโจมตีที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มตาลีบันในปากีสถาน ซึ่งอ้างว่าเป็นองค์กรที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มตาลีบันในอัฟกานิสถานด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
นอกจากนี้ยังมีแง่มุมอื่นๆ เช่นความท้าทายทางเศรษฐกิจ โดยปากีสถานเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจที่รุนแรงที่สุดและประสบกับปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้นอยู่ที่ร้อยละ 31.4 นี่ส่งผลให้ต้นทุนสินค้าจำเป็นและราคาอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก
รัฐบาลปากีสถานหวังว่าการส่งชาวอัฟกานิสถานที่อยู่อย่างผิดกฎหมายในประเทศ จะช่วยบรรเทาปัญหาการว่างงาน อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศได้
ขณะเดียวกันมาตรการขับไล่ชาวอัฟกานิสถานเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ที่ขยับตัวให้กว้างขึ้นของปากีสถานในการจัดการความท้าทายทางเศรษฐกิจ และวัตถุประสงค์ทางการเมือง เพราะการส่งคนเหล่านี้กลับประเทศถือเป็นการยกระดับด้านความมั่นคงและเศรษฐกิจไปในตัว
อย่างไรก็ตาม มาตรการนี้ได้สร้างความไม่พอใจให้กับรัฐบาลตาลีบันอย่างมาก โดยโฆษกรัฐบาลตาลีบันย้ำว่าการตัดสินใจในการดำเนินนโยบายดังกล่าวเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ และผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานไม่ได้เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านความมั่นคงของปากีสถาน การเนรเทศชาวอัฟกานิสถานครั้งนี้ ได้ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลปากีสถานและรัฐบาลตาลีบันซึ่งซับซ้อนอยู่แล้ว ได้ทวีความตึงเครียดขึ้นอีก
ขณะที่ในระดับสากล ข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ (UNHCR) ได้เตือนว่า นโยบายการเนรเทศอาจก่อให้เกิดภัยพิบัติด้านสิทธิมนุษยชน พร้อมเรียกร้องให้ปากีสถานให้ความคุ้มครองและความปลอดภัยกับประชาชนทุกคนที่ตกอยู่ในความเสี่ยงให้อยู่ในปากีสถานต่อไป
ปากีสถาน ถือเป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มผู้อพยพและผู้ลี้ภัยชาวอัฟกานิสถานที่ไม่มีเอกสารราว 1 ล้าน 7 แสนคน ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้อพยพที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ โดยคนกลุ่มนี้อพยพเข้าไปยังปากีสถานตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 1980 หลังจากที่สหภาพโซเวียตเดิมบุกรุกรานอัฟกานิสถาน หลังจากนั้นในปี 2021 กลุ่มชาวอัฟกานิสถานชุดใหม่ก็ได้อพยพเข้าไปเพิ่มอีก 600,000 – 800,000 คน หลังจากกลุ่มตาลีบันเข้ายึดกรุงคาบูลและฟื้นคืนอำนาจ
ผลประกบคู่คาราบาว คัพ รอบ 8 ทีม ลิเวอร์พูล ดวล เวสต์แฮม
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ วิเคราะห์แชมป์พรีเมียร์ลีกหลังผ่าน 10 เกม ทีมไหนได้ลุ้น
ตอกย้ำกระแสความแรง “สัปเหร่อ” เตรียมโกอินเตอร์ จ่อเข้าฉาย 9 ประเทศ