นาซาประกาศเลื่อนภารกิจ “อาร์เทมิส” ส่งคนไปเหยียบดวงจันทร์
ภารกิจการศึกษาดวงจันทร์ที่ทั่วโลกให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้ เชื่อว่าหนึ่งในนั้นจะต้องมีภารกิจ “อาร์เทมิส” (Artemis) ขององค์การอวกาศนาซาอยู่ด้วยอย่างแน่นอน เพราะเป็นภารกิจที่มีความทะเยอทะยานยิ่งใหญ่ นั่นคือการส่งมนุษย์กลับไปเหยียบดวงจันทร์อีกครั้งในรอบกว่า 50 ปี
ภารกิจอาร์เทมิสนั้นแบ่งออกเป็น 4 เฟสใหญ่ ๆ คือ อาร์เทมิส วัน หรือการส่งยานอวกาศ “โอไรออน” (Orion) ที่พัฒนาขึ้นใหม่ โดยยังไม่มีการส่งมนุษย์ขึ้นไปด้วย ไปยังดวงจันทร์และกลับมายังโลก เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของยานนี้
ยานสำรวจนาซาเตรียมเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในประวัติศาสตร์
เห็นวงแหวนชัดกว่าเดิม! “เจมส์ เว็บบ์” เปิดภาพใหม่ “ดาวยูเรนัส”
ครั้งแรกของโลก! ส่งวิดีโอจากอวกาศไกล 31 ล้าน กม. ด้วยเทคโนโลยีเลเซอร์
ภารกิจอาร์เทมิส วัน ประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดี โดยเดินทางไปดวงจันทร์ในวันที่ 26 พ.ย. 2022 และกลับมายังโลกในวันที่ 11 ธ.ค. 2022 ใช้เวลา 25.5 วันตามกำหนดการ
เฟสต่อไปของภารกิจอาร์เทมิสคือ อาร์เทมิส ทู ที่จะส่งมนุษย์ไปโคจรรอบดวงจันทร์ภายในปี 2024 และในปี 2025 ก็จะเป็นภารกิจอาร์เทมิส ทรี ส่งนักบินอวกาศไปเหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกในรอบ 50 ปี
ส่วนเฟสที่ 4 นั้น คือภารกิจอาร์เทมิส โฟร์ ซึ่งยังเป็นเพียงแผนการคร่าว ๆ ที่จะส่งนักบินอวกาศไปยังสถานีอวกาศโคจรรอบดวงจันทร์ที่ชื่อว่า “เกตเวย์” (Gateway)คำพูดจาก เว็บสล็อตใหม่ล่าสุด
แต่ล่าสุด องค์การนาซาเปิดเผยว่า โครงการอาร์เทมิสกำลังเผชิญกับความล่าช้า และต้องเลื่อนการส่งมนุษย์ไปเหยียบดวงจันทร์ออกไปจากแผนการเดิม
ในการแถลงข่าวเมื่อวันที่ 9 ม.ค. ที่ผ่านมา นาซาออกมาแถลงว่า ภารกิจอาร์เทมิส ทรี จะไม่เริ่มขึ้นจนกว่าจะถึงเดือน ก.ย. ปี 2026 เป็นอย่างน้อย เลื่อนออกไปจากกำหนดการเดิมประมาณ 1 ปี
นาซาระบุว่า หนึ่งในสาเหตุหลักของความล่าช้า คือแนวโน้มการพัฒนาจรวด “สตาร์ชิป” โดยสเปซเอ็กซ์ (SpaceX) ของ อีลอน มัสก์ ซึ่งจะใช้ส่งนักบินอวกาศจากวงโคจรดวงจันทร์ไปยังขั้วโลกใต้ของดวงจันทร์ โดยในการทดสอบยานสตาร์ชิป 2 ลำในปี 2023 ที่ผ่านมาจบลงด้วยการระเบิด
นอกจากนี้ สเปซเอ็กซ์ยังพัฒนายานลงจอดบนดวงจันทร์ไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะแม้ว่าสตาร์ชิปจะสามารถขึ้นสู่วงโคจรของโลกได้อย่างปลอดภัยแล้วก็ตาม แต่บริษัทยังต้องหาวิธีที่จะทำให้จรวดมีแรงขับดันเพียงพอที่จะเดินทางไปยังดวงจันทร์
จิม ฟรี ผู้ช่วยผู้อำนวยการนาซา กล่าวว่า “เราจะต้องมองตามความเป็นจริง … เรากำลังรอความคืบหน้าของสตาร์ชิป ซึ่งยังขาดการเพิ่มพลังขับเคลื่อน ขาดความสามารถในการลงจอด”
สำหรับการทดสอบจรวดสตาร์ชิปครั้งที่ 3 คาดว่าจะมีขึ้นภายในเดือน ก.พ. นี้
นาซายังกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากเรื่องจรวดแล้ว ยังมีความล่าช้าในการออกแบบชุดนักบินอวกาศสำหรับการสำรวจบนพื้นผิวดวงจันทร์
ทั้งการพัฒนาสตาร์ชิปและชุดอวกาศ อาจเป็นปัจจัยที่หน่วยงานเฝ้าระวังของรัฐบาล รวมถึงผู้ตรวจการของนาซาอ้างว่าเป็นปัจจัยที่เป็นไปได้ที่อาจทำให้เกิดความล่าช้าในภารกิจอาร์เทมิส ทรี
นอกจากนี้ ภารกิจอาร์เทมิส ทู ซึ่งจะบรรทุกลูกเรือ 4 คนไปโคจรรอบดวงจันทร์ จะไม่เกิดขึ้นในเดือน พ.ย. 2024 ตามกำหนดการเช่นกัน และถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือน ก.ย. 2025
ความล่าช้าของภารกิจอาร์เทมิสส่วนหนึ่งยังเชื่อมโยงกับปัญหาเกี่ยวกับยานโอไรออนด้วย เพราะพบว่า แผงป้องกันความร้อน ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ยานลุกไหม้ในขณะกลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศโลก กลับกลายเป็นตอตะโกและพังเสียหายในลักษณะที่คาดไม่ถึง
ดังนั้น ภารกิจอาร์เทมิสจึงยังมีงานอีกมากที่ต้องทำเกี่ยวกับระบบต่าง ๆ ของทั้งยานโอไรออน จรวดสตาร์ชิป ชุดนักบินอวกาศ และระบบการเดินทางและความปลอดภัย ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่สุด เพราะเชื่อได้ว่า นาซาคงยอมเสียเวลาและเสียหน้าในการเลื่อนกำหนดการภารกิจออกไป มากกว่าจะยอมให้เกิดความผิดพลาดที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตของนักบินอวกาศ
เรียบเรียงจาก CNN
เช็กลิสต์ 18 ศูนย์สอบ ก.พ. แบบ e-Exam ประจำปี 2567
ซูเปอร์คอม ทำนายแชมป์เอเชียน คัพ 2023
เปิดภาพเรนเดอร์-สเปกหลุด iPhone SE 4 มาพร้อมไซส์กะทัดรัด-กล้อง 12MP